วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การเพิ่มผลผลิต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพิ่มผลผลิต



ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
    การเพิ่มผลผลิตมี 2 แนวความคิด คือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดทางเศรษฐกิจสังคม
     1.1 แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
          ตามแนวคิดนี้ ความหมายโดยสรุปคิด การเพิ่มผลผลิตเป็นสิ่งที่วัดค่าได้ และมองเห็นเป็นรูปธรรม”นั่นคือ ตามแนวความคิดนี้ การเพิ่มผลผลิตสามารถวัดค่าได้ทั้งทางกายภาพ คือวัดเป็นจำนวนชิ้นน้ำหนัก ความยาว ฯลฯ และอีกทางคือ การวัดเป็นมูลค่า ซึ่งวัดในรูปที่แปลงเป็นตัวเงิน สามารถทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนว่า การประกอบธุรกิจนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
    การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ 
    ผลผลิต (Output) ที่นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณนี้ต้องเป็นผลิตผลที่ขายได้จริงไม่นับรวมผลิตผลที่เป็นของเสียที่ตลาดไม่ต้องการ และต้องไม่เป็นผลิตผลค้างสต๊อกที่เก็บไว้ในโกดังสินค้า เพราะไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อโรงงานค่าที่ได้จาการคำนวณจากอัตราส่วนขิงผลิตผลและปัจจัยการผลิตนี้จะไปวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการเพิ่มผลผลิตของโรงงานตามที่กำหนด และใช้เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นการคำนวณหาค่าการเพิ่มผลผลิตนี่เรียกว่า การวัดการเพิ่มผลผลิต ซึ่งแนวทางการเพิ่มผลผลิตมีดังนี้
แนวทางที่ 1 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม คือ Output เพิ่มขึ้น Input เท่าเดิม แนวทางนี้นำไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตในสภาวะเศรษฐกิจอยู่ในสภาพปกติ คือเมื่อพนักงานมีเท่าเดิมต้องการให้ผลิตผลมากขึ้น ก็หาวิธีการปรับปรุงงานด้วยการนำเทคนิค วิธีการปรุงปรับการเพิ่มผลผลิตเข้ามาช่วย เช่น ปรับปรุงวิธีการทำงาน ฝึกอบรมทักษะในเรื่องการทำงานให้มีทักษะคุณภาพ กิจกรรม 5 ส กิจกรรม QCC ฯลฯ จะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มีค่าสูงขึ้น โดยไม่เพิ่มปัจจัยการผลิต
 แนวทางที่ 2 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่ปัจจัยการผลิตลดน้อยลงคือ Output เพิ่มขึ้น Input ลดลง แนวทางนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูงสุดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เป็นแนวทางที่นำเอาแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 4 เข้าด้วยกัน ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงกระบวนการผลิตวิธีการทำงานทั้งหมด จนไม่มีการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง ใช้คนงานสุ่มเช็คความเรียบร้อยของสินค้าก่อนบรรจุลงในกล่อง หากพบสินค้ามีรอยตำหนิไม่เป็นมาตรฐานก็จะแยกส่งออกไปแก้ไขใหม่ใช้พนักงาน 6 คน ในจำนวนพนักงานทั้งหมด12 คน ในสายตาการผลิต จะเห็นว่าเวลาส่วนใหญ่ของพนักงานทั้ง6 ที่ยืนสังเกตแยกสินค้าออกนี้ ถูกนำไปใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นต้องปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ ในการหาวิธีตรวจสองสินค้าที่มีรอยตำหนิ โยกย้ายพนักงานออกไปทำหน้าที่อื่นที่ได้ประโยชน์ในการทำงานมากกว่าจะทำให้โรงงานได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และลดปัจจัยการผลิตน้อยลง แนวทางนี้จะเป็นวิธี การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำ” ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรอย่างคุ้มค่า หรือมีประสิทธิภาวะสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตจากพนักงานให้สูงขึ้นและให้ลดความสูญเสียที่เกิดจาก จุดรั่วไหล” ต่าง ๆ ให้มากที่สุด ประหยัดได้ต้องประหยัด ลดกันทุกจุกที่ทำได้ก็เท่ากับลดต้นทุน
 แนวทางที่ 3 ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น (ในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มของผลิตผล) คือ Output เพิ่มขึ้น แต่ Input เพิ่มน้อยกว่า แนวทางนี้นำไปใช้ในสภาวะเศรษฐกิจกำลังเติบโตต้องการขยายกิจการและขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น มีทุนพอที่จะจัดซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มขึ้น จ้างแรงงานเพิ่มใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการผลิต ลงทุนในด้านปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วอัตราส่วนของผลผลิตที่เพิ่มจะมากกว่าการเพิ่มของปัจจัยการผลิต
  แนวทางที่ 4 ทำให้ผลิตผลเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง คือ Output คงที่ แต่ Input ลดลง แนวทางนี้ไม่เพิ่มยอดการผลิต นั่นคือ การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะที่จะใช้กับช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ขจัดเวลาที่สูญเสียต่าง ๆ การประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ให้ใช้อย่างจำกัดและจำเป็นลดความฟุ่มเฟือยต่าง ไหลหาจุดไหลในการผลิตและลดจุดรั่วนั้น ๆ
  แนวทางที่ 5 ทำให้ผลิตผลลดลงจากเดิมแต่ปัจจัยการผลิตลดลงมากกว่า (ในอัตราลดลงมากกว่าลดผลิตผล) คือ Output ลดลง Input ลดลงมากกว่าแนวทางนี้ใช้ในภาวะที่ความต้องการของสินค้าหรือบริการในตลาดน้อยลง เพื่อใช้เพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิตเช่นสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย คนไม่มีกำลังซื้อ สินค้าฟุ่มเฟือยไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น รถยนต์ น้ำหอมฯลฯ ขายไม่ได้มาก บริษัทที่ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตลง และพยายามลดปัจจัยการผลิตให้มากกว่าด้วย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตค่าสูงขึ้น
                       แนวทางการเพิ่มผลผลิตทั้ง 5 แนวทางที่กล่าวมาจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า แนวทางใดจะเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างไรได้ทั้งหมดเพราะต้องพิจารณาทั้งผลิตผลและปัจจัยการผลิตร่วมเพื่อแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ แต่โดยหลักการพื้นฐานแล้วสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
  แนวทางการเพิ่มผลผลิต
                             - หากต้องเพิ่มผลผลิตหรือ Output สูงนั้น เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่ตลาดขยายตัว ผู้บริโภคกำลังซื้อสูงสินค้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
                             - หากลดผลิตผลลง หรือ Output ลดลง เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซบเซา ตลาดหดตัวสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดขณะนั้น
                             - หากเพิ่มปัจจัยการผลิต หมายถึง ต้องการลงทุนเพิ่มในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ต้องมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเป็นที่ต้องการของตลาด
                             - หากลดปัจจัยการผลิต หมายถึงลดปัจจัยการผลิตได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจเพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
                                 จากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น ความหมายของการเพิ่มผลผลิตมิได้หมายถึงการเพิ่มปริมาณการสภาวะหนึ่งที่ต้องทำให้อัตราเพิ่มผลผลิตสูงตลอดเวลาซึ่งทำได้โดยสำรวจสภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดที่มีต่อสินค้าหรือบริการแล้วเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพิ่มผลผลิต

ประเภทของการเพิ่มผลผลิต
    ปัจจุบันเครื่องมือและเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตมีหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นรูปแบบผสมผสานกันทั้งแบบของญี่ปุ่นและแบบตะวันตก เพราะหลักในการเพิ่มผลผลิตก็คือการขจัดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่พนักงานในการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
     2.1 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแบบเน้นงาน
          เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาปรับปรุงวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาการทำงานประกอบด้วยเทคนิคหลัก 2 ประการ คือ
1. การศึกษาการทำงาน
                  หรือวิศวกรรมวิธีการหรือการทำงานง่ายขึ้น หรือการทำให้งานง่ายขึ้น หรือการปรับปรุงงานหรือการออกแบบงาน เป็นการบันทึกและวิเคราะห์วิธีทำงานโดยมุ่งที่จะกำจัด ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นบันได 8 ขั้น ในการศึกษาวิธีการทำงานได้แก่
                  ขั้นที่ เลือกงานสำคัญที่เหมาะแก่การศึกษา โดยพิจารณางานที่จำเป็น เป็นปันหาคอคอดในสายการทำงาน มีของเสียสิ้นเปลืองสูงคุณภาพงานไม่สม่ำเสมอ ซ้ำซาก จำเจ ทำให้เหนื่อยล้ามาก หรือมีการทำงานล่วงเวลาบ่อยเป็นต้น
                  ขั้นที่ 2 บันทึกโดยตรง หมายถึง การใช้แผนภูมิหรือแผนภาพมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีทำงาน
                  ขั้นที่ 3 ลงมือตรวจตรา วิเคราะห์วิธีทำงานที่เป็นอยู่ โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 6W 1H กล่าวคือวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนว่า ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ใครเป็นคนทำ ทำอย่างไร ทำไมต้องทำ มีอะไรอย่างอื่นที่ทำได้ เป้าหมายในการวิเคราะห์ตรวจตราก็เพื่อกำจัด รวม หรือสลับลำดับงานในขั้นตอนต่าง ๆ ที่พิจารณาจนกระทั่งเหลือแต่งานที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
                  ขั้นที่ 4 พัฒนาวิธีใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหาวิธีการใหม่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ จะต้องมีการบันทึกและตรวจตราวิธีการที่เสนอแนะใหม่เช่น
                  ขั้นที่ 5 วัดให้รู้จริง หาตัวเลขข้อมูลการประหยัดการเคลื่อนไหวและเวลาที่ได้ เพื่อคำนวณความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจของโครงการปรับปรุงที่เสนอแนะเสนอให้ฝ่ายบริหารพิจารณา
                  ขั้นที่ ทุกสิ่งนิยามไว้ กำหนดวิธีการทำงานที่เสนอแนะเพื่อใช้อ้างอิงในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดอุปกรณ์ วัสดุ เงื่อนไขและผังสถานที่ทำงานให้ชัดเจน
                  ขั้นที่ ใช้งานเป็นประจำ นำวิธีการทำงานแบบใหม่ไปปฏิบัติ โดยต้องได้รับการเห็นชอบจากฝ่ายบริหารและการยอมรับจากคนงานและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้น ขั้นตอนนี้ครอบคลุมถึงการฝึกหัดพนักงานตามวิธีใหม่และการติดตามดูความก้าวหน้าในการทำงานจนได้ระดับที่น่าพอใจ
                  ขั้นที่ 8 ดำรงไว้ซึ่งวิธี คอยตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ปรับปรุง อาจกำหนดสิ่งจูงใจในการทำงานด้วยวิธีใหม่ ไม่มีเพียงเท่านั้น หากเล็งเห็นวิธีการปรับปรุงอีกก็อาจพิจารณาปรับปรุงต่อไป




ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
   ความสำเร็จในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานหรือองค์กรมีปัจจัย ดังนี้คือ
      1. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างจริงจังและจริงใจ ให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านงบประมาณ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพิ่มผลผลิตในทุก ๆ รูปแบบ
      2. องค์กรต้องจัดตั้งทีมดำเนินงาน รับผิดชอบในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้การปรับปรุงดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องระยะยาว แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
      3. ต้องประกาศเป็นนโยบายขององค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบ และต้องนับถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน มีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องของการปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต
       4. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานจัดให้มีกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ เช่น กิจกรรม 5 ส กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ กิจกรรมข้อเสนอแนะ ฯลฯ
       5. สร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีในองค์กร เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมีความพยายามตระหนักถึงความจำเป็น
        6. องค์กรต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและฝ่ายบริหาร เพราะจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
        7. ต้องมีการแบ่งปันผลปะโยชน์ ซึ่งเกิดจากการเพิ่มผลผลิตให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพราะจะให้เกิดความร่วมมือกับทุก ๆ ฝ่าย ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในระยะยาว



ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากการผลิต 
ปัจจัยในการผลิต (ที่ดิน แรงงาน เงินทุน การจัดการ ฯลฯ) 
ทำไมจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิต? 
ผลผลิตของประเทศเปรียบเสมือนอาหารหรือสายโลหิตที่ไปหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศ ถ้าประชากรของประเทศได้รับการเลี้ยงดูที่ดีเขาก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป การเพิ่มผลผลิตจะเป็นการเพิ่มมาตรฐานการครองชีพของประชาชนด้วย การเพิ่มผลผลิตจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชากรในหลาย ๆ ทาง คือ 
1. การเพิ่มผลผลิตจะมีผลทำให้รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้น 
2. การเพิ่มผลผลิตจะทำให้เกิดความสมดุลในดุลการค้าระหว่างประเทศหรือถ้าเพิ่มผลผลิตได้มาก ๆ ดุลการค้าของประเทศก็จะเกินดุล 
3. การเพิ่มผลผลิตจะช่วยลดผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อไปได้บ้าง 
4. ในการประกอบธุรกิจการเพิ่มผลผลิตจะเป็นทางหนึ่งในการเพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการ 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
ในการเพิ่มผลผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น อิทธิพลภายนอกองค์การ ขบวนการผลิต ความสามารถในการผลิต สินค้าคงคลัง และกำลังแรงงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยย่อย ๆ อื่น ๆ ประกอบอีก (ดูแผนภูมิประกอบ) การเพิ่มผลผลิตจะใช้เพียงปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดจะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เพราะทุกปัจจัยจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่เราสามารถให้น้ำหนักของความสำคัญในแต่ละปัจจัยไม่เท่ากันได้แล้วแต่สถานการณ์แวดล้อม ปัจจัยแต่ละปัจจัยจะมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตได้ดังต่อไปนี้:- 
มีแผนภูมิ 
1. อิทธิพลภายนอกองค์การ: เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์การและอยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การ เช่น นโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากทางรัฐบาล กฎหมาย คู่แข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความต้องการของลูกค้า เป็นต้น แต่ละปัจจัยจะมีอิทธิพลทั้งต่อปริมาณของผลลัพธ์และปัจจัยในการผลิต เช่น นโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากทางรัฐบาลจะมีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อวัตถุดิบและการลงทุน เพราะรัฐบาลจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อผู้เข้ามาลงทุนภายในประเทศเพื่อจูงใจให้มีการลงทุนมาก ๆ เมื่อผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนทั้งทางด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน ถึงแม้ว่าจะผลิตให้มีผลลัพธ์ออกมาเท่าเดิม ก็ถือได้ว่า มีการเพิ่มผลผลิตขึ้นแล้ว เพราะใช้ปัจจัยในการผลิตน้อยลง 
2. ผลิตภัณฑ์ : หมายความถึงผลรวมขององค์การประกอบการทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมทั้งการบรรจุหีบห่อ สีสัน ราคา ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ชื่อเสียงของร้านค้าปลีก และการบริการจากผู้ผลิต และจากร้านค้าปลีก ซึ่งผู้ซื้อจะซื้อมาหรือแลกเปลี่ยนมาเพื่อบำบัดความชอบหรือความต้องการของคน ในการเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์จะใช้องค์ประกอบหลาย ๆ ทางประกอบกัน เช่น 
- การวิจัยและพัฒนา ทั้งในแง่ของการหาวิธีการผลิตใหม่ ๆ ที่จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดขาย และลดต้นทุน 
- การเพิ่มผลผลิตโดยใช้วิธีการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) ซึ่งเป็นเทคนิคการปรับปรุงในแง่ของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และการกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดซื้อ การออกแบบผลิตภัณฑ์และการหาวัสดุทดแทน คำว่า "คุณค่า" ในแง่ของวิศวกรรมคุณค่านั้น หมายถึง คุณค่าของผลิตภัณฑ์และการบริการ ซึ่งผู้ใช้หรือลูกค้าคาดหวังหรือต้องการที่จะได้รับจากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เช่น มีการเปลี่ยนวัสดุในการทำภาชนะบางประเภทเสียใหม่ โดยใช้พลาสติกแทนโลหะเพื่อลดต้นทุนในการผลิต แต่ยังคงใช้งานได้เหมือนเดิมทุกประการ 
3. ขบวนการผลิต : เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมีอิทธิพลต่อผลผลิต ประกอบด้วยความคล่องตัวในการผลิต การใช้ระบบอัตโนมัติ การออกแบบขบวนการผลิต และการเลือกกรรมวิธีในการผลิต ฯลฯ กรรมวิธีหรือขบวนการในการผลิตจะเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของการผลิต ถ้าเราสามารถเลือกขบวนการในการผลิตที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ๆ แต่ได้ผลผลิตออกมาเท่าเดิม ก็จะเป็นการเพิ่มผลผลิตได้วิธีหนึ่ง มีวิธีการหลาย ๆ วิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิต เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติแทนแรงงานคน ปรับปรุงการออกแบบโรงงานให้เหมาะสมกับขบวนการผลิต หรือวิเคราะห์ความคล่องตัวในการผลิต เป็นต้น 
4. ความสามารถในการผลิตและสินค้าคงคลัง : ความสามารถในการผลิตจะมีผลโดยตรงต่อผลผลิต ในการผลิตจะต้องคำนึงถึงจุดคุ้มทุน (break-even-point) ของผลิตภัณฑ์ว่าอยู่ที่ใด จำนวนเท่าไร (ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี) แล้วจะต้องพยายามผลิตตามนั้นเพื่อที่จะมีค่าโสหุ้ยในการผลิตต่ำสุด เพราะถ้าผลิตมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักร รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสูงเกินความจำเป็น 
ในแง่ของสินค้าคงคลังก็จะมีส่วนในการเพิ่มหรือลดผลผลิตเช่นกัน การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปจะมีผลทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่ถ้ามีน้อยเกินไปอาจจะทำให้ยอดขายและปริมาณการผลิตลดลง 
5. กำลังแรงงาน : อาจจะพูดได้เลยว่ากำลังแรงงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตขององค์การ โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเลย คือ ขบวนการคัดเลือกและบรรจุพนักงาน ซึ่งจะบอกได้เลยว่า องค์การแต่ละองค์การต้องการทรัพยากรมนุษย์ในระดับใดเข้ามาทำงานในองค์การ ทรัพยากรมนุษย์จะเพิ่มผลผลิตของตนเองได้โดยผ่านการฝึกอบรม การมอบหมายงานและการบังคับบัญชาที่ดี และท้ายที่สุดการตั้งเป้าหมายในการทำงานและการให้รางวัลจะเป็นสิ่งจูงใจให้พนักงานเพิ่มผลผลิตของตนเองขึ้นมาได้ 

ข้อควรคำนึงในการเพิ่มผลผลิต 
ในการรักษาหรือเพิ่มผลผลิต หลาย ๆ องค์การจัดทำเป็นโครงการพิเศษขึ้นมา แต่จากการประเมินผลของโครงการพิเศษในการเพิ่มผลผลิตพบว่าจะต้องมีความสอดคล้องกันในสามองค์ประกอบ คือ 

- การพัฒนาเครื่องวัดหรือวิธีการวัดในการเพิ่มผลผลิต 

- คนในองค์การทุกคนจะต้องยอมรับและผูกผันในการเพิ่มผลผลิตขององค์การ 

- การให้ข้อมูลย้อนกลับในผลของความสำเร็จ 

และในการเพิ่มผลผลิตจะประสบความสำเร็จมากหรือน้อยนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ไว้ด้วย 

1. การพัฒนามาตรการในการวัดผลผลิตในทุก ๆ ระดับขององค์การ เครื่องวัดเหล่านี้จะต้องได้รับการยอมรับจากพนักงานในทุก ๆ ระดับ เครื่องวัดเหล่านี้อาจมีหลาย ๆ เครื่องวัดก็ได้ 

2. ตั้งเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิต เป้าหมายเหล่านี้ควรจะเป็นไปในทางรูปธรรมที่สามารถหาเครื่องวัดมาวัดได้ เช่น ในกิจการผลิตพรม เป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตก็คือ ให้พนักงานผลิตพรมได้เพิ่มขึ้น 10 หลา ต่อวัน เป็นต้น 

3. พัฒนาแผนการดำเนินเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องตัดสินใจลงไปเลยว่า การที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นจะต้องใช้วิธีการใด เมื่อได้วิธีการมาแล้วก็ค่อยมาดูว่ากำลังคนและอุปกรณ์ภายในองค์การมีพร้อมหรือเปล่า ในแง่ของพนักงานอาจต้องมีการฝึกอบรมให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้น อุปกรณ์บางอย่างที่ยังขาดแคลนอยู่ก็จัดหามาเพิ่มเติมให้ครบ 

4. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ การลงมือปฏิบัตินี้จะต้องเริ่มจากผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับก่อน แผนในการเพิ่มผลผลิตที่นำมาปฏิบัติแล้วได้ผลดีจะต้องเป็นแผนที่ผู้บังคับบัญชาและพนักงานร่วมกันกำหนดขึ้นมา 

5. วัดผลการดำเนินงาน การวัดผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่า การดำเนินงานของเขานั้นเป็นอย่างไร ถ้าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ก็ปล่อยให้ดำเนินงานกันต่อไป แต่ถ้าต่ำกว่าเป้าหมายก็ต้องค้นหาสาเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด แล้วทำการแก้ไขเพื่อที่จะได้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในตอนแรก 

นอกจากว่าการเพิ่มผลผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำเนินงานข้างต้นแล้ว การเพิ่มผลผลิตยังต้องการเวลาและความพยายามอย่างมากด้วย บางครั้งก็ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนน้อยเพื่อจะได้ประหยัดเงินจำนวนมากไว้ ผลลัพธ์ของการเพิ่มผลผลิตอาจจะต้องใช้เวลารอคอยนานพอสมควร อาจจะเป็นเดือนหรือเป็นปี และที่สำคัญที่สุด เมื่อพนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเพิ่มผลผลิตขึ้นมาแล้ว ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับองค์การทั้งในแง่ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ผลกำไรมีมากขึ้น เป็นต้น จะต้องนำย้อนกลับมาสู่พนักงานด้วยทั้งในรูปของค่าตอบแทนต่าง ๆ ความมั่นคงในการทำงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ดี ฯลฯ เพื่อจะได้จูงใจให้พนักงานเห็นว่าเมื่อพวกเขาทำงานหนักมากขึ้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งตัวเขาและองค์การก็จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
 

นางสาวสุภาพร สาลีอ่อน การจัดการทั่วไป ปวส.1กลุ่ม2

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การบริหารงานคุณภาพ

การบริหารงานคุณภาพ🙏
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนน่ารักดุ๊กดิ๊ก

ความหมายและขอบข่ายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
💣1.ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ การวาแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม

หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร

หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย
1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า โดย💀

💣1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวังที่
ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
💣1.2 ตรวจาสอบความต้องการของลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ 
💣1.3 ประเมนผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้อง
ปรับปรุงในเรื่องอะไร 
💣1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูล
ความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
💣1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)
2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)💀

ผู้นำขององค์กรใช้หลักการบริหารอย่างเป็นผู้นำ เพื่อนำทางให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรไปสู้เป้าหมายคุณภาพ ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ได้แก่
1. กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้าหมาย
3. สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
4. สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
5. สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
6. สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
7. สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
8. สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)💀

สมาชิกทุกคนขององค์กรมีความสำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้โดย
เปิดโอกาสให้พนักงานร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ หรือร่วมปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
3.1 องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
3.4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร 
3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน
4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)💀

กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวานการดำเนินการ และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ไ ด้แก่
4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
4.2 กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบาคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการบริหารงานคุณภาพในองค์กร

5. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)💀

คือ การมององค์กรจากโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ แต่การบริหารงานอย่างเป็นระบบ คือความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันให้ระบบความทสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากพอจะสร้างผลงานคุณภาพขององค์กร การบริหาร ให้ระบบความสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพทำได้โดย
5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
5.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
5.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
5.4 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
5.5 การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร
6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)💀

การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรฐาน่ให้เกิดขึ้น โดยการปฏิบัติดังนี้
6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.2 สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.5 กระประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักร์ในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
7. ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ💀

การตัดสินใจใดๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีระบบการจัดเก็บที่เชื่อถือได้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และถ้าผ่านกระบวนการวิเคราห์มาแล้วอย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้ การตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ การใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ ทำได้โดย
7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
7.2 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
7.3 มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
7.4 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
7.5 การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย

8. สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน💀

ผู้ส่งมอบหรือตัวแทนจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับองค์กร โดยมีผลประโยชน์ร่วม
ร่วมกันดังนั้น สัมพันธภาพระหว่างองค์กรกับผู้ส่งมอบจึงต้องส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันสร้างคุณภาพเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แนวทางการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้ส่งมอบพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันได้แก่
8.1 คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ 
8.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.3 สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสารงานที่มีประสิทธิภาพ 
8.4 ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความสื่อสัตย์โปร่งใส
8.5 ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ โดยเน้นการสร้างคุณภาพให้กับทั้ง 2 ฝ่าย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการบริหารงานคุณภาพในองค์กร


ระบบการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System)
ข้อกำหนดระบบบริหางานคุณภาพอยู่ในมาตรฐาน ISO 9001:2000 โดยองค์กรต้องจัดระบบการบริหารงานที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์คุณภาพขององค์กร ระบบบริหารงานหมายถึง โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ระบบบริหารงานจะเกิดประสิทธิภาพและสร้างคุณภาพได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องหลักเบื้องต้นในการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิตในองค์กร



1. การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ เพราะนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร คือแนวทางหลักที่หน่วยงานทุกหน่วยงานต้องยืดมั่นและปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ
มีกระบวนการดังนี้

1.1 การศึกษาและวิจัยตลาด เป็นการศึกษา 2 มิติ ได้แก่ มิติความต้องการของลูกค้าและมิติของคู่แข่งในตลาด
1.2 การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ เป็นการทบทวน ทดสอบและประเมินผลผลิตภัณฑ์/งานบริการที่ดำเนินการอยู่ หรือที่คิดค้นขึ้นใหม่ว่า ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสามารถแข่งขันในตลาดได้

2.การกำหนดความคาดหวัง/มาตรฐาน/เป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรืองานบริการจากการศึกษาความต้องการของลูกค้าและตลาด เพื่อให้ฝ่ายผลิต และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการดำเนินงาน


3.การกำหนดกระบวนการผลิต/การบริการเมื่อมีความชัดเจนด้านมาตรฐานนและเป้าหมายของผลิตภัณฑ์และงานบริการเราก็สามารถกำหนด
1. กระบวนการผลิต/การบริการ ตามกระบวนการบริหารงานคุณภาพในแผนภูมิที่ 5.1ได้
2. สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการผลิต/การบริการ ด้วยมาตรฐานการตรวจสอบและเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ


4.การวางแผนงานคุณภาพเพื่อกำหนดการใช้ทรัพยากร ในการผลิตหรือการให้บริการอย่างเหมาะสม พอเพียง และเกิดประสิทธิภาพการทำงาน แผนงานหลัก แผนงานประจำปี หรือแผนพัฒนาองค์กร เป็นต้น และมีการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์คุณภาพที่ตั้งไว้

5.การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานความต้องการของลูกค้าโดยการตรวจสอบผลการปรับปรุงงานต่อไป
ความคาดหวังและความต้องการของลูกค้ารวมถึงสภาพการแข่งขันในตลาดไม่คงที่แน่นอนมีการเปลี่ยแปลงตามสภาวะของเศรษฐกิจและสังคมดังนั้นการศึกษาและวิจัยตลาดจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย

6.สร้างระบบหรือหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรนอกเหนือจากหน่วยงานที่มีอยู่ เช่น ฝ่ายการจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายผลิต ฝ่ายการเงิน ฯลฯ จะต้องสร้างระบบหรือหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
6.1 ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทำให้การเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆมีความสัมพันธ์กัน เข้าใจตรงกัน และสร้างคุณภาพร่วมกันระบบการสื่อสารควรเป็นระบบสื่อสาร แบบ 2 ทาง คือ ทำได้ทั้งส่งข้อมูลและรับข้อมูล
6.2 ระบบการประเมินคุณภาพและระบบการตรวจสอบคุณภาพที่มีมาตรฐาน มีความชัดเจน มีข้อบ่งชี้ที่ทุกหน่วยงานรับทราบร่วมและต้องมีแผนการตรวจสอบที่แน่นอนด้วย 
6.3 ระบบการฝึกอบรม / พัฒนาบุคลากร ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กับระบบการปรับปรุงงาน
6.4 ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ที่สามารถสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและผู้จำหน่ายหรือลูกค้า
ระบบการบริหารงานคุณภาพยังต้องใช้หลักการการบริหารงานคุณภาพในองค์กรทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวถึงในข้อ 2. ด้วย

 การบริหารงานคุณภาพ
    คุณภาพ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 หมายถึง ลักษณะเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ จากความหมายนี้สรุปได้ว่า คุณภาพหมายถึง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสินค้าหรือบริการนั้นต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม การสร้างความประทับใจให้ลูกค้าที่มาใช้บริการ แบ่งได้ดังนี้
1.เหมาะสมกับมาตราฐาน
2.เหมาะสมกับประโยชน์ใช้ส้อย
3.เหมาะสมกับต้นทุน
4.เหมาะสมกับความต้องการที่แฝงเร้น

    คุณสมบัติของคุณภาพ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
-สมรรถนะ
-ความเชื่อถือได้
-ความทนทาน
-ความสวยงาม
-ลักษณะเฉพาะ
-ความส้อดคล้องตามที่ต้องการ
-ความสามารถในการให้บริการ
-การับรู้คุณภาพ หรือชื่อเสียงของสินค้า
2.คุณภาพของงานบริการ สามารถพิจาณาได้ดังนี้
-ความเชื่อถือได้
-การตอบสนองความต้องการ
-ความสามารถ
-การเข้าถึงได้
-ความสุภาพ
-การติดต่อสื่อสาร
-ความน่าเชื่อถือ
-ความปลอดภัย
-ความเข้าใจลูกค้า
-สามารถรู้สึกได้ในบริการ

หลักการบริหารงานคุณภาพ
1.การให้ความสำคัญกับลูกค้า
2.ความเป็นผู้นำ
3.การมีส่วนร่วมของบุคลากร
4.กระบวนการดำเนินงาน
5.การบริหารที่เป็นระบบ
6.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
7.การตัดสินใจบนพื้นฐานขงความเป็นจริง
8.ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

แนวคิด
การเพิ่มผลผลิตในองค์การที่สำคัญคือกระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต
 คือ นโยบายของรัฐ ทรัพยากรที่ใช้ รวมทั้งค่านิยมสังคม การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นองค์การต้องผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความ
ต้องการด้วยขั้นตอนและวิธีควบคุมการผลิตการสร้างคุณค่าแลพะความเชื่อถือที่สร้างความพอใจให้กับลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผล
ถึงการเพิ่มผลผลิตโยรวมขององค์การในที่สุด

สาระการเรียนรู้
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
2. องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
3. ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต
4. ประเภทของการผลิต
5. กระบวนการผลิต
6. การเพิ่มผลผลลิตโดยรวม 

ผลการเรียนรุ้ที่คาดหวัง
1. อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตได้
2. อธิบายองค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิตได้
3. อธิบายขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิตได้
4. อธิบายประเภทของการผลิตได้
5. อธิบายกระบวนการผลิตได้
6. อธิบายการเพิ่มผลผลลิตโดยรวมได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนน่ารักดุ๊กดิ๊ก
นางสาวสุภาพร สาลีอ่อน เลขที่7 ปวส.1 การจัดการทั่วไป กลุ่ม2

👎การจัดการงานอาชีพ👎   การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการป...