วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

องค์การ

👀องค์การ👀

องค์กร หมายถึง 🔺 การนำเอาส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบ หรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ลำดับขั้นตอนของการบังคับบัญชา และความรับผิดชอบ



😻ลักษณะขององค์กร😻


องค์กรแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่  


  1. องค์กรทางสังคม เป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการทำงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสมาชิกในสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน และกลุ่มกิจกรรมสาธารณะต่างๆ
  2. องค์ส่วนราชการ เป็นหน่วยงานของราชการ ทำให้เกิดนโยบายสาธารณะและงานบริการแก่ประชาชน
  3. องค์กรเอกชน เป็นองค์กรที่ดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ได้รับผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดจากการทำธุรกิจ

ประเภทขององค์กร
1. แบ่งตามความหมายที่จัดขึ้น องค์การเพื่อผลประโยชน์ร่วมของสมาชิก (Mutual-benefit) เช่น พรรคการเมือง สมาคม และสหกรณ์ - องค์การเพื่อธุรกิจ (Business concern) เช่น บริษัท ห้างร้าน และ ธนาคาร - องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal organization) เช่น กระทรวง องค์กรเพื่อการบริการ (Service organization)  เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล
2. แบ่งตามหลักการจัดระเบียบภายในองค์การ(Formal Organization) ซึ่งเป็นองค์การที่มีระเบียบแบบแผนมีโครงสร้างที่ชัดเจน (Informal Organization) คือการสังคมที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ไม่มีรูปแบบเฉพาะ โครงสร้าง หลวมๆ โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างบคุคลแบบไม่เป็นทางการ โดยอาจมี ความเชื่อ ค่านิยม นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งองค์การออกเป็น 2 แบบได้แก่ (สวุรรณี, 2547)   - องค์การแบบแนวดิ่ง (Vertical Organization) คือ องค์การที่มีขั้นการ บังคับบัญชา (Chain of Command) ลดหลั่งลงมา เช่น งานทาง การทหาร และงานประเภทโรงงานองค์การแบบแนวราบ (Horizontal Organization) เป็นรูปแบบของ องค์การที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการการปรึกษาหารือร่วมกัน เช่น งานด้านวิชาการและงานวิชาชีพ


การจัดโครงสร้างองค์การ

 ในการทํางานในองค์การที่ต้องมีการตัดสินใจว่าจะทําอะไรบ้าง จะรายงานเรื่องราวต่างๆ กับใคร วิธีหนึ่งของการจัดโครงสร้างองค์การ และการสร้างสรรค์องค์การ คือ การจัดผังแสดงโครงสร้างองค์การ (Organization Chart) ซึ่งเป็นการจัดผังที่แสดงตําแหน่งต่างๆ ทั้งหมด ในองค์การและความสัมพัน์ของอํานาจหน้าที่แต่ละหน่วยงาน รวมทั้งแสดงตําแหน่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนอย่างมี ระบบเพื่อง่ายแก่การบริหาร


รูปแบบของโครงสร้างองค์การ

โครงสร้างองค์การเป็นแบบแผนที่กําหนดขอบเขตของงานและ ความสมัพนัธ์ของอํานาจหน้าที่
1. โครงสร้างองค์การระบบราชการ (Bureaucratic Structure) เป็นลกัษณะโครงสร้างองค์การซึ้งมีความซับซ้อนสูง มีความเป็น ทางการสงู เป็นระบบการจดัการโดยถือเกณฑ์โครงสร้างงานที่เป็น ทางการของอํานาจหน้าที่ซึ่งกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดมีการติดตาม การทํางานอย่างรัดกุม ทําให้โครงสร้างองค์การแบบนีบ้างครั้งขาด ความยืดหยุ่นเพราะมีขั้นตอนมากและแจทําให้เกิดความล่าช้าใน การทํางาน
2. โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต (Organic Structure) เป็น โครงสร้างองค์การที่มีความเป็นอิสระ คล่องมีกฎเกณฑ์และ ข้อบังคับเล็กน้อย มีความเป็นทางการน้อยกว่าระบบราชการ สามารถยืดหยุ่นได้ มีการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม และมีการ กระจายอํานาจการตัดสินใจให้แก่พักงาน
3. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix Structure) มีการ พฒันาแรกเริ่มจากการมีเป้าหมายของความสําเร็จตามโครงการโครงสร้างของงานในโครงการมีการมอบหมายให้ผู้ชำนาญการ จากแผนกงานที่มีหน้าที่ไปปฏิบัติโครงการหรือมากกว่าหนึ่งโครงการ
4. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก (Line or Hierarchy Organization Structure) คือ แต่ละหน่วยงานมีการกําหนดการสั่งการ และการควบคมุ ผ่านสายบังคับบัญชาตามลําดับนั้นจากผ้บูริหารระดับสูงไปยัง รองลงมาซึ่งเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยจะรับคําสั่ง คําแนะนําและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาผู้เดียว 
5. โครงสร้างองค์กรแบบงานหลักและงานท่ปีรึกษา (Line and Staff Organization Structure) การจัดโครงสร้างขององค์กรมี หน่วยงานที่ปรึกษาเข้ามา เพื่อช่วยศกึษาค้นคว้าให้คําแนะนํา ให้บริการและแก้ปัญหาต่างๆ ให้หน่วยงานหลักหน่วยงานที่ปรึกษา นี้จะเป็นอิสระขึ้นตรงกับผ้บูริหารในฝ่ายหรือแผนกนั้นๆ
6. การจัดองค์การตามโครงงาน (Project Structures) คือ โครงสร้างที่เกิดขึ้นเมื่อมีโครงงานหรือปัญหาใหม่เข้ามา ผ้บูริหารจะ ตั้งทีมงานขึ้นเป็นกลุ่มพื่อจัดการกับโครงงานดังกล่าวและเมื่อ โครงการนั้นสิ้นสุดหน่วยงานนั้นๆจะถูกยุบลงไปด้วย


ส่วนประกอบขององค์การ

 1. สายการบังคับบัญชา
 2. การสื่อสารตามสายงาน 
 3. เอกภาพในการบังคับบัญชา
 4. ขอบเขตของการบังคับบัญชา
5. การแบ่งงานตามความร้คูวามสามารถ 
 6. การมีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายหลัก ๆได้แก่ เจ้าหน้าที่หลักรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้ สำเร็จตามเป้าหมาย เจ้าหน้าที๋ฝ่ายให้คำปรึกษา เจ้าหน้าที๋ฝ่ายสนับสนุน
 7. การแบ่งอำนาจหน้าที๋และความรับผิดชอบ 
8. การประสานงาน


ลักษณะสำคัญสำหรับกระบวนการจัดองค์การ

1. การออกแบบงาน (Job design)
 2. การจัดแผนก (Departmentalization)
 3. การมอบหมายงาน (Delegation)
4. ขนาดของการจัดการควบคุม (Span of Management)
5. การจัดตามสายงานและที่ปรึกษา



http://www.elfms.ssru.ac.th/sawitree_ch/file.php/1/COC1101/powerpoint/OGC_C1.pdf
นางสาวสุภาพร สาลีอ่อน ปวส.1 กจ.ม.6 กลุ่ม2






👎การจัดการงานอาชีพ👎   การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการป...