วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562





👎การจัดการงานอาชีพ👎

 การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การจัดการทรัพยากรประกอบด้วยการใช้งานและการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ และยังช่วยการบริหารให้กับองค์กต่างให้เจริญรุ่งเรือง



งานอาชีพ คือ งานที่ทำเป็นประจำ ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อนำมาเลี้ยงตนเอง ครอบครัว และเพื่อซื้อจ่ายปัจจัยที่จำเป็นหรือต้องการ งานอาชีพมักจะต้องออกไปทำนอกบ้าน แต่บางอาชีพที่เป็นอาชีพอิสระสามารถทำงานอยู่กับบ้าน หรืออาจออกไปตามสถานที่ต่างๆตามความจำเป็น ต้องใช้ความคิด ความรอบคอบ และสติปัญญา ในการวางแผน จัดการและแก้ไขปัญหา งานอาชีพจึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี

ความสำคัญของงานอาชีพ คือ ทำให้เกิดรายได้ เพื่อนำมาเลี้ยงดูครอบครัว ตนเอง และเพื่อให้มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยปัจจัยที่จำเป็น งานอาชีพบางอาชีพ อาจก่อให้เกิดประโยชน์และได้ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ เช่น งานเพื่อสังคมต่างๆ




ารแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

    1.  สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้
    2.  ได้ทำงานที่ตนเองถนัด
    3.  ทำให้กิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ



อาชีพที่มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท      
1.  อาชีพเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การทำ สวน การทำนา ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้
2.  อาชีพเหมืองแร่ (Mineral) เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม การขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้ เช่น ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน และปูนซีเมนต์ ฯลฯ
3.  อาชีพอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิตและบริการทั่วๆไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่ แบ่งได้ดังนี้
                   3.1  อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ อุตสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานสมาชิกในครอบครัว วัสดุที่ใช้ผลิตหาได้ในท้องถิ่น ผลิตัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4.  อาชีพก่อสร้าง (Construction) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ฯลฯ
  5.  อาชีพการพาณิชย์ (Commercial) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวช้องกับการตลาด การจำหน่ายสินค้าปลีก และสินค้าส่ง
  6.  อาชีพการเงิน (Financial) การดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือและการลงทุน  ได้แก่ ธนาคารต่างๆ
  7.  อาชีพบริการ (Services) เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในการอำนวยความสะดวกสบาย เป็นการขนส่ง  การสื่อสาร  การโรงแรม  การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  โรงภาพยนต์  ภัตตาคาร  ร้านอาหาร  สถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ
 8.  อาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น  ได้แก่ อาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู  เภสัช  วิศวกร  สถาปนิก  จิตรกร  ประติมากร  เป็นต้น





ขอขอบคุณ





👇การวางแผนงาน👇

1.ความหมายของการวางแผน
     หน่วยงานทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย สามารถดำเนินงานได้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน รวมทั้งทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการ ระยะเวลาของการทำงานนั้นๆ หากเกิดข้อผิดพลาดจะสามารถทราบได้ทันทีว่าเกิดจากสาเหตุอะไรและสามารถทำการแก้ไขได้ทันท่วงทีที่เกิดการผิดพลาดในกระบวนการทำงาน ไม่ก่อให้เกิดการเสียเวลา รวมทั้งสามารถตรวจสอบการทำงาน และกำหนดแนวทางการทำงานในอนาคตได้เพื่อความสำเร็จของหน่วยงาน ปัจจัยดังกล่าว เรียกว่า “การวางแผน (Planning)” มาจากคำในภาษาละตินว่า “Planum” ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของการวางแผนไว้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางแผน

2.ความสำคัญของการวางแผน
การวางแผนเป็นงานหลักและสำคัญในการบริหารของหน่วยงานในทุกระดับ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้หน่วยงานดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแผน หากวางแผนดีก็เท่ากับดำเนินงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง ดังนั้น การวางแผนจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงาน ดังนี้
           2.1 การวางแผนเป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร
           2.2 การวางแผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ผู้ปฏิบัติตามแผนสามารถศึกษาเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการทำงานได้จากแผนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
           2.3 แผนและการวางแผนเป็นตัวกำหนดทิศทางและความรู้สึกในเรื่องของความมุ่งหมายสำหรับองค์การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รู้ แผนเป็นกรอบสำหรับการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติได้ อย่างดี จึงสามารถป้องกันมิให้มีการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแต่ละครั้งไปเท่านั้นด้วย
           2.4 แผนและการวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มองไปในอนาคต และเห็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์หรือกระทำการต่างๆ ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ทั้งยังมองเห็นปัญหาอุปสรรคและภัยคุกคามต่างๆ เพื่อจะหาทางป้องกัน ตลอดจนลดภาวะความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วย
           2.5 การตัดสินใจที่มีเหตุผลในการวางแผนนั้น จะมีการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีเวลาพอที่จะใช้ทั้งหลักทฤษฎี แนวความคิด และหลักการ ประกอบกับตัวเลขสถิติและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาตัดสินใจ จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมมีเหตุผลและเป็นประโยชน์ตามต้องการ
           2.6 การวางแผนในเรื่องของการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามความต้องการ กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องกระทำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ บังเกิดผลตามเป้าหมายนั้นๆ จะต้องได้รับการพิจารณา การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งวิธีการกระบวนการ ขั้นตอนของการกระทำ ทรัพยากรที่ต้องใช้ เวลา สถานที่และการควบคุมดูแลการทำงาน
           2.7 การวางแผนมีส่วนช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้มาก
           2.8 การวางแผนเป็นตัวนำในการพัฒนา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางแผน


3. ประโยชน์ของการวางแผน

           การวางแผนมีประโยชน์สำคัญหลายประการทั้งต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
           3.1 ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
           3.2 ทำให้หน่วยงานมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
           3.3 ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา ฯลฯ
           3.4 ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง “เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ”
           3.5 ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานได้ง่าย

4. ประเภทของแผน
           การจำแนกประเภทของแผน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่นำมาใช้ในการจำแนกและจัดแบ่งประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานและง่ายต่อการทำความเข้าใจ การวางแผนอาจจำแนกเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป การจำแนกประเภทของแผนที่สำคัญๆ มีดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวางแผน


   4.1 จำแนกตามระดับหน่วยงาน       
             เป็นแผนซึ่งระบุถึงระดับหน่วยงานที่กำหนดแผนและกำหนดวิธีการในการปฏิบัติตามแผน แผนประเภทนี้ได้แก่ แผนระดับชาติ แผนระดับกระทรวง แผนระดับกรม แผนระดับจังหวัด แผนระดับเขตพื้นที่การศึกษา แผนระดับโรงเรียน เป็นต้น
    
 4.2 จำแนกตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย
             เป็นแผนซึ่งจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายโดยเฉพาะ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาชนบท แผนพัฒนาแหล่งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เป็นต้น

   4.3 จำแนกตามระยะเวลา
             แผนประเภทนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
             4.3.1 แผนระยะสั้น (Short-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี เช่น แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan or Operation Plan) ในแผนจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ สถานที่ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ การวางแผนระยะสั้นอาจทำในรูปของแผนงาน (Program) หรือ โครงการ (Project) ซึ่งมีกิจกรรมไม่สลับซับซ้อน
             4.3.2 แผนระยะปานกลาง (Intermediate-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่ 3-4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป็นต้น
             4.3.3 แผนระยะยาว (Long-Range Plan) คือ แผนที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ในแผนจะกำหนดขอบเขตแนวทางไว้กว้างๆ เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ 15 ปี เป็นต้น


ขอขอบคุณ


https://www.youtube.com/watch?v=luEKkvvqV9U


วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนางานและการพัฒนาตนเอง



การพัฒนางานและการพัฒนาตนเอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนดุ๊กดิ๊ก

การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ การที่ผู้คนกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้า
หมายในชีวิตของตนเองไว้ล่วงหน้า

ว่าจะต้องการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอะไรอย่างไร และหาแนวทางในการแก้ไขด้วยตัวเอง พร้อมทั้งให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อแก้ไขพัฒนาตนเองบรรลุเป้าหมายแล้ว เพื่อเป็นการกระตุ้นแก่ตนเอง ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เกิดการพัฒนาอย่างเสมอ และเริ่มรู้ถึงคุณค่าของการปรับเปลี่ยนตนเอง ทำให้เกิดความราบรื่นและทำงานอย่างมีความสุข



ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ
ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ คือ บุคลทุกๆคนในทุกๆด้าน ต่างก็ต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ให้เหมาะสมกับหน้าที่ภาระงานอาชีพ เพื่อสามารถดำเนินชีวิตการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้เท่าทันกับการพัฒนาของสังคม

 ความสำคัญของตนเองในการพัฒนาอาชีพมีดังนี้
1. เตรียมตนเองให้พร้อมทุกด้าน เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ด้วยความรู้สึกที่ดี
2. ปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม โดยขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออก พร้อมกับเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ
3. วางแนวทางให้พัฒนาไปสู่เป้าหมายด้วยความมั่นใจ โดยส่งเสริมความรู้สึก คุณค่าแห่งตนให้สูงขึ้น เข้าใจตนเอง และทำหน้าที่ตามบทบาทได้




การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่งานอาชีพ

การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพมีความสำคัญอย่างมากต่อการประกอบอาชีพ 
ซึ่งหากมีการเตรียมการที่ดีย่อมส่งผลให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ดังนั้น การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพ 
มีวิธีการดังนี้

1.การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา
1.1 การเตรียมตัวด้านความรู้วิชาการ เป็นการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพการปฏิบัติตนรวมถึงทฤษฎีในงานอาชีพ
1.2 การเตรียมตัวประสบการณ์ชีวิต การที่จะได้รับประสบการณ์จะต้องทำกิจกรรมนอกหลักสูตรการเรียนอย่างเป็นระบบ เช่น ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับรางวัล ร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือชมรมต่างๆตามที่ตนเองสนใจ และเพื่อให้บรรลุถึงวิชาชีพที่เป็นเป้าหมาย ควรหมั่นศึกษาหรือเข้าอบรมดูงาน ในงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพที่ตัวเองสนใจ
1.3 การฝึกฝนความสามารถพิเศษ เป็นการฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น สามารถขับรถยนต์ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และความสามารถเหล่านี้ก็สามารถนำใช้ในงานอาชีพได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของตัวเองอีกช่องทางหนึ่ง

2. การเตรียมตัวภายหลังจบการศึกษา
หลังจากสำเร็จการศึกษา เราจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพที่เราต้องการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
2.1 การศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในยุคปัจจุบัน เช่น เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆเพื่อสามารถนำมาใช้ต่อยอดในการงานได้ อบรมภาษาต่างประเทศที่จำเป็นเพื่อพบปะกับบุคลต่างเชื้อชาติที่ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่ ยุคอาเซียนแล้วทำให้มีผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาในประเทศ เป็นต้น

2.2 การเตรียมตัวความรู้เรื่องงานที่จะทำก่อนทำงานนั้นๆเราจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่างานที่จะทำนั้นเกี่ยวกับอะไร มีบทบาทอย่างไร เป็นการเตรียมการเกี่ยวกับตำแหน่งงานเพื่อให้ลดความกดดันเมื่อเข้ามาใหม่ๆ และเป็นการเสริมความรู้ไปภายในตัวเพื่อทำบทบาทของตนเองได้ หน้าที่ความรับผิดชอบของงานเพื่อให้รู้ถึงงานนั้นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างไร ความรู้ความสามารถที่จะใช้ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากไร้ซึ่งความรู้ความสามารถ ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ดีทำให้เกิดขอบกพร่องในงานการ รวมถึงผลตอบแทนที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการทำงานและตำแหน่งที่เป็น

2.3 การเตรียมความรู้ด้านตลาดแรงงาน เราต้องหาช่องทาง หาตำแหน่งงานที่สนใจ จากแหล่งต่างๆ เช่น จากหนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ เพื่อให้สามรถสืบหาวิชาชีพที่ตนเองสนใจได้อย่างสะดวก บางงานนั้นจะเปิดรับสมัครแต่ไม่มีบุคลอื่นรู้นอกจากบุคลภายใน ทำให้ยากต่อการเข้าถึง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ควรมีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งงานหลายๆแหล่งด้วยกันเพื่อได้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ
ทั้งงานการ ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร บางสื่อข้อมูลก็จะมีการบ่งบอกถึง
รายได้ที่จะได้รับจาการทำงาน ในตำแหน่งนั้นๆ เป็นต้น



ประโยชน์ของการพัฒนางานอาชีพ มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์
1. เพื่อให้มีบุคลากรที่ต้องการประกอบในงานอาชีพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ตนเองมีความรู้ความสามรถที่เพียบพร้อมก่อนที่จะเข้าประกอบงานอาชีพที่สนใจ
3. สามารถพัฒนาต่อยอดจากที่เคยเป็นทำให้ไม่ไม่ความตึงเครียดในการทำงาน
4.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย





ขอขอบคุณ


https://freefirst.weebly.com/35853634361936143633360236093634360536093648362935913651360935913634360936293634359436373614.html









วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


👉การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน👈


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


  1. การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรความหมาย👄

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ข้อแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผล กับ ประสิทธิภาพประสิทธิผล(Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์กรตั้งไว้





   ประสิทธิภาพ (Effciency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผล
ที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กร
 วิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์กร
1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
4. การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ




การที่องค์กรจะไปสู่คุณภาพนั้นจำเป็นต้องปรับองค์กรโดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธี

1. การลดต้นทุน
2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง




👿นิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้👿

1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. การมุ่งที่กระบวนการ
5. การศึกษาและฝึกอบรม
6. ประกันคุณภาพ
7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม


💦กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน💦

ในองค์กรด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงานความหมายของกลยุทธ์ในองค์กร กลยุทธ์ขององค์กร หมายถึง การที่องค์กรได้แสดงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการริหารที่องค์กรไปเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีกลุ่มต่าง ๆ ตัวบุคคล องค์กรอื่นและสถาบันประเภทอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในองค์กรและนอกองค์กรการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ
ประการแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
ประการที่สอง ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า องค์กรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร โดยพิจารณาในแง่ของการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ตามความหมายของพฤติกรรมองค์กรการจัดชุดของทรัพยากรที่จะใช้งานในองค์กร ในการจัดชุดทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหาร องค์กรจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างกันออกไป โดยทรัพยากรต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาพลิกแพลงและจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความเหมาะสม
กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ คือ การมีประสิทธิผล ที่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ดี และสามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆ ได้ และการมีประสิทธิภาพ ที่สามารถทำสำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้น โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย ลักษณะของกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพที่จะทำให้การบริหารสามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างดีในทุกสถานการณ์
เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมกลยุทธ์การบริหาร การบริหารเชิงรวมที่เป็นภารกิจทางการบริหารของผู้บริหาร บรรรยากาศในองค์กรบรรยากาศในองค์กร จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้ความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความมั่นคงของบุคลากรทุกระดับการมีส่วมร่วมในการตัดสินใจการให้การสนับสนุนความเปิดเผยในการสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างการรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนนักวิชาการหลายท่านได้เสนอบรรยากาศขององค์กรที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ที่นำไปสู่การลงความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศขององค์กรบรรยากาศในองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศในองค์กร จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกันสูง ย่อมส่งผลถึงการมีบรรยากาศในการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ผลงานดีขึ้น โดยที่บุคลากรไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน และปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดีการสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร



ขอขอบคุณ


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

👎การจัดการความเสี่ยง👎

การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป

การจัดการความเสี่ยงขององค์กร ได้ถูกนำมาประยุกต์ในการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร อันจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุ ประเมินและบริหารความเสี่ยงเมื่อต้องเผชิญอย่างคาดไม่ถึง และสนับสนุนการสร้างและรักษาค่านิยมขององค์กร การจัดการความเสี่ยงขององค์กร จะเป็นตัวสนับสนุนความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและกลยุทธ์ให้เป็นแนวทางเดียวกัน เชื่อมโยงความเสี่ยงกับความเติบโตและผลตอบแทน ส่งเสริมการตัดสินใจตอบสนองต่อความเสี่ยง ลดความตื่นตระหนักและความสูญเสียในการปฏิบัติการ ระบุและบริหารความเสี่ยงระหว่างสถานประกอบได้ สามารถตอบสนองความเสี่ยงที่ซับซ้อนอย่างบูรณาการได้ สามารฉกฉวยโอกาสและมีการลงทุนอย่างเหมาะสม

ทุกองค์กรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และความท้าทายสำหรับฝ่ายบริหารขององค์กรทั่วไป ก็คือการกำหนดระดับความไม่แน่นอนที่มีอยู่เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อศักยภาพและบั่นทอนหรือส่งเสริมคุณค่า  การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป จึงเป็นการสร้างกรอบของงานเพื่อให้ผู้บริหารได้จัดการกับความไม่แน่นอน  ความเสี่ยงและโอกาสเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กรและผู้มีผลประโยชน์ร่วม  การบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้แน่ใจอย่างสมเหตุสมผลว่า องค์กรทั่วไปสามารถบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรได้ 

ความไม่แน่นอน

องค์กรที่ดำเนินงานในสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เช่น โลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี กฎระเบียบ การปรับโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงตลาด และการแข่งขันที่สร้างความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนมักถูกแสดงออกมาและสร้างขึ้นจากทางเลือกเชิงกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีกลยุทธ์สร้างความเติบโตโดยมีพื้นฐานจากการขยายการดำเนินงานไปยังประเทศอื่น ทางเลือกเชิงกลยุทธ์นี้จะแสดงให้เห็นความเสี่ยงและ
โอกาสของการมีส่วนร่วมกับความมีเสถียรภาพของสภาพแวดล้อมทางการเมือง ทรัพยากร ตลาด  ช่องทาง  ความสามารถของแรงงาน และต้นทุนของประเทศนั้น
ความไม่แน่นอนนั้นเป็นไปได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาส มีความเป็นไปได้ทั้งที่จะลดหรือเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร การจัดการความเสี่ยง (Enterprise Risk Management - ERM)  เป็นกรอบความคิดทางการบริหารเพื่อที่จะจัดการกับสภาวการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการสร้างโอกาสและคุณค่าให้กับองค์กร สำหรับความไม่แน่นอนขององค์กรทั่วไป ก็คือการที่องค์กรไม่อาจจะบรรลุพันธกิจตามแผนงานการบริหารงานที่กำหนดไว้ได้

คุณค่าและค่านิยมร่วม  (Shared Value)
-       เป็นเป้าหมายสูงสุด ที่ถูกกำหนดและยอมรับจากทั้งผู้บริหาร และสมาชิกทุกคนขององค์กร
-       การกำหนดโดยตั้งปรัชญาและค่านิยมจะปลูกฝังให้พนักงานทุกคนยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานในทางปฏิบัติ

-       ค่านิยมร่วมกันเป็นสิ่งที่พนักงานขององค์กรจะยึดถือร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะแสดงออกอย่างชัดเจน หรือต้องศึกษาและทำความเข้าใจเองจากสภาพแวดล้อมในองค์กร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปภาพการจัดการความเสี่ยง

การตัดสินใจของผู้บริหารจะสร้าง รักษา หรือให้คุณค่า ในทุกกิจกรรมจากการกำหนดการปฏิบัติงานในองค์กรในแต่ละวัน การตัดสินใจจะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและโอกาส ความต้องการที่ฝ่ายบริหารจะต้องพิจารณาข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก    ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

การสร้างคุณค่าเกิดขึ้นโดยการพัฒนาทรัพยากร อันประกอบด้วย บุคลากร ทุน เทคโนโลยี และ ความน่าเชื่อถือ เช่น แบรนด์ เป็นต้น  เพื่อสร้างประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้นกว่าเดิม  การรักษาคุณค่าโดยเน้นไปยัง บุคลากร กระบวนการ ระบบและการปฏิบัติเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสิ่งอื่น ๆ เช่น คุณภาพของสินค้า  ความสามารถในการผลิตและความพึงพอใจของลูกค้า  คุณค่าอาจถูกบั่นทอนจากการปฏิบัติที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาส  หรือโดยกลยุทธ์หรือการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ

คุณค่าสามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหารมีความสมดุลระหว่างการเติบโต  วัตถุประสงค์  ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง  ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป จะช่วยอำนวยความสะดวกในการระบุความต้องการของตลาด ความไม่เพียงพอและเหตุการณ์อื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างคุณค่าและความเสี่ยงต่อกลยุทธ์และความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

คุณค่าของการบริหารความเสี่ยง

1.        การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล สามารถช่วยบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงในทุกระดับขององค์กร และช่วยให้การประเมินโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงที่มีคุณค่าขององค์กรมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม
2.        สามารถลดความสูญเสียและเพิ่มโอกาสให้กับองค์กร
3.     ช่วยจัดการกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และสามารถกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
4.        ความสำเร็จขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล ควรตระหนักถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้ถูกสร้าง รักษา หรือซ่อนเร้นอยู่ภายในการดำเนินงานปัจจุบัน และคุณค่าซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในการตัดสินใจในอนาคต คุณค่าที่ซ่อนเร้น หมายถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ โดยองค์กรไม่ได้นำออกมาใช้หรือกำลังหมดค่าไปในที่สุด

การตัดสินใจของผู้บริหารจะสร้าง รักษา หรือให้คุณค่า ในทุกกิจกรรมจากการกำหนดการปฏิบัติงานในองค์กรในแต่ละวัน การตัดสินใจจะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและโอกาส ความต้องการที่ฝ่ายบริหารจะต้องพิจารณาข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก    ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

การสร้างคุณค่าเกิดขึ้นโดยการพัฒนาทรัพยากร อันประกอบด้วย บุคลากร ทุน เทคโนโลยี และ ความน่าเชื่อถือ เช่น แบรนด์ เป็นต้น  เพื่อสร้างประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรให้มากขึ้นกว่าเดิม  การรักษาคุณค่าโดยเน้นไปยัง บุคลากร กระบวนการ ระบบและการปฏิบัติเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสิ่งอื่น ๆ เช่น คุณภาพของสินค้า  ความสามารถในการผลิตและความพึงพอใจของลูกค้า  คุณค่าอาจถูกบั่นทอนจากการปฏิบัติที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาส  หรือโดยกลยุทธ์หรือการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ

คุณค่าสามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหารมีความสมดุลระหว่างการเติบโต  วัตถุประสงค์  ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง  ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ การจัดการความเสี่ยงขององค์กรทั่วไป จะช่วยอำนวยความสะดวกในการระบุความต้องการของตลาด ความไม่เพียงพอและเหตุการณ์อื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างคุณค่าและความเสี่ยงต่อกลยุทธ์และความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

คุณค่าของการบริหารความเสี่ยง

1.        การบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล สามารถช่วยบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงในทุกระดับขององค์กร และช่วยให้การประเมินโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงที่มีคุณค่าขององค์กรมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีผลประโยชน์ร่วม
2.        สามารถลดความสูญเสียและเพิ่มโอกาสให้กับองค์กร
3.     ช่วยจัดการกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และสามารถกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
4.        ความสำเร็จขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล ควรตระหนักถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้ถูกสร้าง รักษา หรือซ่อนเร้นอยู่ภายในการดำเนินงานปัจจุบัน และคุณค่าซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในการตัดสินใจในอนาคต คุณค่าที่ซ่อนเร้น หมายถึงคุณค่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ โดยองค์กรไม่ได้นำออกมาใช้หรือกำลังหมดค่าไปในที่สุด 



ขอขอบคุณ


http://www.thai-sciencemuseum.com
สืบค้นวันที่1 กรกฎาคม 2562
นางสาวสุกาพร สาลีอ่อน กจ.ส.1



👎การจัดการงานอาชีพ👎   การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการป...